นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถานการณ์อุทกภัยในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง เบื้องต้นได้รับรายงานจากศูนย์บริหารสถานการณ์วิกฤติ กระทรวงอุตสาหกรรม ว่า ขณะนี้มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ สิงห์บุรี ปราจีนบุรี หนองบัวลำภู มหาสารคาม อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โดยมีผู้ได้รับผลกระทบแล้วจำนวน 59 ราย แบ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม 55 ราย เหมืองแร่ 1 ราย และวิสาหกิจชุมชน 3 ราย ซึ่งได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรม และประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
ทั้งนี้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเร่งด่วนสำหรับประเมินสถานการณ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และให้ความช่วยเหลือได้ในทันที พร้อมสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในด้านต่าง ๆ เช่น มาตรการด้านสินเชื่อ การจัดทีมงานทำความสะอาดและซ่อมแซมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม การจัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำทางธุรกิจ และการจัดเตรียมถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้มาตรการ 3 ระยะ “ป้องกัน เยียวยา ฟื้นฟู”
นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดเตรียมแผนการรับมือไว้แล้วตามนโยบายของรัฐมนตรีฯ สุริยะ ตามมาตรการ 3 ระยะ ได้แก่
1. มาตรการป้องกัน ได้มอบหมายให้ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประสานงานไปยังโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อสำรวจความพร้อมของโรงงานอุตสาหกรรมในการรับมือสถานการณ์อุทกภัย อาทิ การแจ้งเตือนสถานการณ์ การเฝ้าระวัง การจัดทำแนวกั้นน้ำ การจัดเตรียมกระสอบทราย รถบรรทุก เรือ เครื่องปั่นไฟ ทางระบายน้ำรอบโรงงาน การจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ เครื่องฉีดน้ำ และอุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า อีกทั้งยังเตรียมการป้องกันและเฝ้าระวังโรงงานที่มีสารเคมีหรือขยะเป็นพิษเพื่อป้องกันการรั่วซึมและส่งผลกระทบต่อชุมชน ตลอดจนการจัดทำระบบแจ้งเตือนและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
2. มาตรการเยียวยา โดยในเบื้องต้นได้เตรียมถุงยังชีพสิ่งของอุปโภค บริโภค สำหรับนำไปแจกจ่าย ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจเอกชนรายใหญ่ ขณะเดียวกันก็เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาด้านแหล่งเงินทุน สินเชื่อ การพักชำระหนี้ ปรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์บริการให้คำปรึกษาในการประกอบธุรกิจ เพื่อให้คำแนะนำอย่างทันท่วงที
3. มาตรการการฟื้นฟู โดยจัดBig Cleaningให้กับโรงงาน อาคาร และชุมชนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมให้ความช่วยเหลือในการซ่อมแซม ปรับปรุง ฟื้นฟู เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการฟื้นฟูธุรกิจแบบบูรณาการ และการจัดตั้งคลินิกเคลื่อนที่ในการดูแลเครื่องจักรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดม้าเร็วในการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น รวบรวม ติดตาม ประสานงานสถานการณ์ในพื้นที่แบบทันที เพื่อให้การช่วยเหลือเข้าถึงผู้ประสบภัยน้ำท่วม และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ผ่าน 3 มาตรการ “ป้องกัน เยียวยา ฟื้นฟู” พร้อมช่วยเหลือเยียวยาหลังน้ำลด ให้ครอบคลุมในทุกความต้องการ และสามารถแก้ปัญหาได้รวดเร็ว”